Brand Loyalty คือ ความภักดีต่อแบรนด์ หรือ ความภักดีในสินค้า กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้บริโภค หลายบริษัทมีการลงทุนงบประมาณเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ (Brand loyalty) วิธีการหรือกลยุทธ์ต่างๆ ที่เคยใช้ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามโอกาส ในการสื่อสารที่นำเสนอโดยระบบดิจิตอล Brand มุ่งเน้นการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าผ่าน แพลตฟอร์มเเละช่องทางของบริษัท เพื่อให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย และเพิ่มอัตราการเข้าชม (Traffic) จาก Search engine
ทุกประสบการณ์ของ Digital Branding เริ่มจากเนื้อหาที่ส่งผลถึงอารมณ์เชิงบวกและตรงตามความต้องการของลูกค้า และหากเนื้อหาที่เผยแพร่ออกไป ไม่ตรงตามความคาดหวังของผู้บริโภค พวกเขาอาจจะไม่สนใจสินค้าหรือเลือกที่จะเมินผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อในระบบดิจิทัลของเราไปเลยก็ได้ข้อเหล่านี้ เชื่อมโยงโดยตรงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกลค้นหา (Search engine optimizatio) ที่มีผลกระทบกับการสร้างมูลค่า เพราะการค้นหา จาก google, Bin, Yandex หรือ Baidu เป็นตัวกลางที่จะเพิ่มประสิทธภาพในการใช้งานและแสดงผลตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึง Google ได้กำหนดไว้ 4 ช่วงเวลาสำคัญ (Micro moment) โดยเฉพาะ การเข้าถึงออนไลน์และการค้นหา
ในแต่ละช่วงเวลานั้น ต่างสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละ Moment ที่ต้องการค้นหา
คำว่า “ Moment” หมายถึงการกระทำที่ถูกกระตุ้น ณ เวลานั้น ซึ่งหากตัวผลิตภัณฑ์ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บิรโภคในช่วงเวลานั้นๆ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานและตรงกับความต้องการ จะนำไปสู่การมีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้นและเพิ่มลูกค้าประจำได้
การเพิ่มประสิทธิภาพ On-page ด้วย Content strategy
การทำ content เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างแบรนด์ การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นไปได้ทั้งหมด ตามแฟลตพอร์มของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทกำหนดขึ้น และในแฟลตฟอร์มเหล่านี้ เนื้อหาใดๆ จากข้อความค้นหาของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ จะเผยแพร่ในรูปแบบของข้อความ วีดีโอ หรือรูปภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนจากเนื้อหาที่เข้าใจยาก เป็นการเล่าเรื่องราวของตัวผลิตภัณฑ์แทน
การเผยแพร่เนื้อหาต่างๆหรือข่าวสารอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด โดยพื้นฐานแล้วจะต้องมีการตรวจสอบข้อความค้นหา เพื่อกรองหัวข้อหัวเหล่านั้นให้เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มเป้าหมายและเตรียมเนื้อหาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลได้ง่าย
Keyword analysis
ในเรื่องของ E-commerce การวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้งาน โดยพื้นฐานทั่วไปนั้น จำนวนของคำและประเภทของคำค้นหาในแต่ละหัวข้อ คำค้นหาที่มีปริมาณมากและความหลากหลายของรูปแบบนั้นเป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสารแบรนด์ การวิเคราะห์ข้อมูลคำหลัก (Keyword) รวมทั้งการวิจัย ความหมาย และการประเมินผลของคำที่เกี่ยวข้อง มีจุดประสงค์เพื่อการค้นหาคำที่ผู้บริโภคใช้ในการค้นหาข้อเสนอและผลิตภัณฑ์ในโลกออนไลน์ในเครื่องมือค้นหา (Search engin)
เมื่อเปรียบเทียบกับข้อความของเเบรนด์ต่างๆที่มีอยู่ จากการวิเคราะห์มักจะแสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่บริษัทที่มีอุปกรณ์สังเกตข้อมูลคำหลักจากคำค้นหาในอินเตอร์เน็ต จะใช้คำไม่เหมือนกับบริษัทที่ไม่มีอุปกรณ์สังเกตข้อมูลคำหลัก
การวิเคราะห์จะถูกจัดกลุ่มในพื้นที่ในแต่ละหัวข้อและกำหนดให้ตรงกับช่วงเวลาต่างๆ (Micro moment) และการจัดหมวดหมู่จะเป็นไปตามระดับในช่องทางขายขาเข้า ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Google ads หรือ Google suggest พึ่งเปิดใช้บริการการวิเคราะห์ข้อมูลคำหลัก และ micro moment ให้แก่ผู้บริโภค รวมถึง "People-also-ask-Boxes" (PAA-Boxes)
From keyword to message
ข้อความจะถูกกำหนดจากการรวบรวม keyword และความเกี่ยวข้องกันของคำ ซึ่งสอคล้องกับ World of me และตรงกับกลุ่มลูกค้าโดยข้อความ ส่วนตำแหน่งของแบรนด์จะถูกวางและกำหนดจากปัจจัยภายนอก ที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนสำหรับเนื้อหาทั้งหมด ที่จะใช้ในการสื่อสารแบรนด์
From the message to brand story
การเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท และการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ซื้อกับผู้ให้บริการทางด้านอารมณ์ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ วิธีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับแบรนด์ วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ความสนุกสนานหรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ - ข้อความเหล่านี้ทั้งหมดจะถูกนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายเหมือนเรื่องราวจริง ทั้งการค้นหาของการวิเคราะห์ keyword ก็ถูกรวมเข้ากับเรื่องราวด้วย ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นในขณะนี้ คือ "to do", "to go", "to know" และ "to buy" จากการสำรวจข้อมูลลูกค้าโอกาสที่ดีที่สุดในการแบ่งส่วนที่อยู่ในข้อความแบรนด์ คือการให้ความรู้และการนำเสนอที่ไม่เป็นการโปรโมทสินค้าจนเกินไป
การเล่าเรื่องบน (Pillar Pages)
หน้าหลักถูกใช้สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาในเรื่องของ SEO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด เนื้อหาในหน้าหลักจะแนะนำหัวข้อสำคัญของแบรนด์และตอบคำถามที่ถามในการค้นหาของ Google อีกทั้งมีลิงค์ที่โชว์เนื้อหาเพิ่มเติมในหน้าอื่น ๆ ของแพลตฟอร์ม และมีบางส่วนของหัวข้อของหน้าหลักสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ลึกลงไปได้
หน้าเพจที่ดีของหน้าหลักและหน้าเพจย่อยที่เชื่อมโยงกัน ช่วยในการแนะนำหัวข้อสำคัญของแบรนด์และตอบคำถามลูกค้าผ่านเครื่องมือค้นหา การเพิ่มข้อมูลและการจัดการกลุ่มหัวข้อผ่านการแสดงแผนที่ความคิด (Mind map) ช่วยจัดระบบหัวข้อเรื่องหลากหลายและ จัดระดับความสำคัญของแต่ละประเด็น
เมื่อเทียบกับการสร้างบล็อกทั่วไป วิธีนี้ให้ผู้ดูสามารถได้รับข้อมูลมากกว่า และหน้าหลักที่มี Key word ยังเป็นจุดสำคัญสำหรับการเเนะนำเบื้องต้นสำหรับคำค้นหา โดยทั่วไปจะอยู่ในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกัน ด้วยวิธีนี้แบรนด์สามารถจัดทำข้อความต่าง ๆ ได้ในหลาย ๆ บทความ
ดาวน์โหลด Whitepaper เพื่ออ่านเพิ่มเติม เรื่องความต้องการของลูกค้า และกลยุทธ์เชิงเนื้อหาในการใช้ Search engines.
_____________________________________________________________________________
พูดคุยกับเราผ่าน Line แชท เพียงแค่คลิกเพิ่มเพื่อนหรือ Scan QR Code