ประสบการณ์ของผู้ใช้งานกลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นไปทุกที หลายปีผ่านมานี้ แสดงให้เห็นได้ชัดเลยว่าประสบการณ์การใช้งานเว็บใช้นั้นเป็นหนึ่งในความสำเร็จบนเส้นทางการท่องเว็บไชต์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตสิ่งนี้จะเป็นสิ่งจำเป็นนมากในช่องการค้นหา (search engines) จริงดั่งเขาอ้างว่าลูกค้าคือพระเจ้า หากคุณต้องการขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายในปี 2021 คุณจพเป็นต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า !
อัพเดตประสบการณ์หน้า GOOGLE'S
ทาง Google ได้ประกาษข่าวที่น่าตื่นเต้นนี้ ใกล้เวลาเข้ามาทุกที สำหรับการอัปเดตประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experince) และการมีอิทธิพลอย่างมากต่อการจัดอันดับของหลาย ๆ เว็บไซต์ จากเดือนพฤษภาคม ปี 2554 เป็นต้นไป เวลาในการโหลดเว็บไซต์ (Loading time) จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้เว็บไซต์ที่ทำคะแนนได้ดีใน Core Web Vitals หรือ การวัดมาตรฐานประสิทธิภาพเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้กับหน้าเว็บไซต์ ในอนาคตจะถูกแสดงอยู่ในอันดับต้นๆ บนหน้า Search Engine Result อีกด้วย
แล้ว CORE WEB VITALS คืออะไรกันละ ?
เกณฑ์มาตรฐานใหม่จาก Google ในการวัดประสิทธิภาพระหว่างประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้กับหน้าเว็บไซต์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า การให้คะแนน UX แก่หน้าเว็บไซต์นั่นเอง
Core Web Vitals ประกอบด้วย
- Largest Contentful Paint (LCP) ความเร็วในการโหลดองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดในหน้านั้น เช่น เนื้อหา รูปภาพหรือวิดิโอ หากใช้เวลาโหลดน้อยกว่า 2.5 วินาที ถึงจะอยู่ในระดับ “ดี”
- First Input Delay (FID) ความล่าช้าในการตอบสนองครั้งแรกระหว่างผู้ใช้งานกับเว็บไซต์ หากใช้เวลาโหลดน้อยกว่า 0.1 วินาที ถึงจะอยู่ในระดับ “ดี”
- Cumulative Layout Shift (CLS) การให้คะแนนความเสถียรภาพของการโหลดองค์ประกอบต่างๆ บนเว็บไซต์แบบ Asynchronous หากใช้เวลาโหลดน้อยกว่า 0.1 ถึงจะอยู่ในระดับ “ดี”
ใครก็ตามที่ยังคงมีสิ่งที่ต้องติดตามหรือต้องทำภายในเว็บไซต์ อีกทั้งยังต้องการรักษาหรือปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ของตัวเองนั้น คุณยังมีเวลาดำเนินการจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แล้ว สัญญาณอื่น ๆ ของผู้ใช้ ยังคงมีความสำคัญต่อการทำ SEO:
- Time on Pag: ค่าเฉลี่ยนี้จะช่วยให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับปริมาณของเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ได้ วัดจากระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์นั้น ๆ
- Bounce rate: เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ที่ออกจากเว็บไซต์โดยไม่การโต้ตอบใด ๆ ๆ บนเว็บไซต์ ดังนั้น Bounce rate จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ การสร้าง CTAs (call-on-action) ที่โดดเด่นและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม CTAs สามารถเปลี่ยนจากผู้ชมเว็บไซต์ธรรมดา ให้กลายเป็นลูกค้าได้เลยทีเดียว
- Click-through rate (CTR): เปอร์เซ็นต์นี้จะวัดจากจำนวนการคลิกของผู้เข้าชมโฆษณาของเราบ่อยครั้งแค่ไหน
หลักเกณฑ์ E-A-T - หลักการ ความเชี่ยวชาญ อำนาจและความหน้าเชื่อถือ
อะไรคือความตั้งใจของผู้ใช้งานที่จะค้นหากันละ เขาต้องการข้อมูลบนหัวข้อหรือไม่ เขาต้องการมีปฏิกิริยาบางอย่างเช่นซื้อขายสินค้าไหม หรือต้องการหาเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ? การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ขององค์ประกอบ 3 ส่วนนี้ มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ด้วย Search Quality Raters ของ Google จะประเมินเว็บไซต์ตามจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้งาน และรวบรวมผลลัพธ์ไว้ในอัลกอริทึมการค้นหา (Search Algorithm) สิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผู้ใช้เสมอ เมื่อดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา YMYL (Your Money or Your Life) คือเนื้อหาที่เกี่ยวกับเงินหรือชีวิต หรือเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อ่าน ที่ควรปฏิบัติตามหลักการ E-A-T หากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่แสดงให้เห็นถึงความคุณภาพของเว็บไซต์ ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักนี้ การจัดอันดับในเว็บไซต์นั้นอาจจะได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ZERO CLICK SEARCHES
Zero-Click Search คือการคลิกจากการค้นหาเป็น 0 ในกรณีนี้ การค้นหาของผู้ใช้เสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อหน้าผลการค้นหาของ Google ปรากฏขึ้น
ถามเพียงแค่คำถามเดียว ก็ได้คำตอบทันทีและไม่จำเป็นต้องคลิกอีกต่อไป
เว็บไซต์ที่ต้องการปรากฏในรูปแบบชุดข้อมูลที่แสดงผลบน Google หรือ Snippet จะต้องให้ความสำคัญกับทำ SEO และสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏในรูปแบบชุดข้อมูลที่เรียกว่า "Fraggle" (Fragment และ Handle) คุณต้องพึ่งพาเนื้อหาที่ตอบโจทย์และเหมาะกับความตั้งใจในการค้นหาของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในหน้าคำถามที่พบบ่อยเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการให้คำตอบอย่างรวดเร็วแก่ผู้ใช้งาน หัวข้อที่เรียบง่ายให้คำตอบโดยตรงในผลการค้นหา ในทางกลับกันหัวข้อการค้นหาที่ซับซ้อนและหัวข้อที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการคลิกหาข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะต้องให้ความสำคัญกับ SEO เพื่อสร้างการเข้าชมอยู่เสมอ และใส่ใจในการนำเสนอ Content SEO ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ในการค้นหาที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน
การเพิ่มประสิทธิภาพคาดการณ์คำค้นหาล่วงหน้า (Predictive Search)
Google พยายามปรับตัวให้เข้ากับผลการค้นหาตามพฤติกรรมของผู้ใช้งานอยู่เสมอ Artificial intelligence (AI) ช่วยผู้ใช้งานด้วยการแนะนำคำค้นหาแบบคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้ลงไป โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานและคาดการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาอาจสนใจ ดังนั้นอัลกอริทึมของ Google จะเป็นตัวตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาและความสนใจของผู้ใช้งาน จึงจำเป็นมากที่เนื้อหาของเว็บไซต์จะต้องได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEO (การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือค้นหา) ในเอกสารทางเทคนิคของเรา :